ปัญหาสารพิษตกค้างในผักและผลไม้เป็นเหตุให้ประชาชนไทยสุขภาพทรุดโทรมเจ็บป่วยเป็นโรคและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเป็นปัญหาใหญ่ของระบบสาธารณะสุข ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินและเงินส่วนตัวจำนวนมากในการดูแลรักษา เป็นปัญหาเรื้อรังบั่นทอนศักยภาพของประชาชนในทุกวัยและบั่นทอนขีดความสามารถโดยรวมของประเทศอีกด้วย
เพื่อให้ประชาชนไทยทั่วประเทศได้มีโอกาสเลือกรับประทานผักดีที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษตกค้างได้อย่างสะดวกทั่วถึง โครงการผักดีจึงได้กำเนิดขึ้น
โครงการผักดีได้เกิดขึ้นมาโดยมีเป้าหมายสำคัญดังนี้
1. ปฏิวัติระบบการผลิตผักใหม่ให้ผลิตผักที่ปลอดภัยไร้สารพิษตกค้าง การผลิตผักที่มีความเสี่ยงสูงต้องปรับเปลี่ยนเข้าไปอยู่ในโรงเรือนปิดที่ป้องกันโรคแมลงได้ เครือข่ายการผลิตผักดีจะใช้ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติใช้สมุนไพรและจุลินทรีย์ในการควบคุมป้องกันโรคแมลง เพื่อให้ได้ผักที่ปลอดจากสารพิษและสารเคมีตกค้าง
2. สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนให้นิยมบริโภคผักพื้นบ้านซึ่งเป็นผักที่แข็งแรงทนทานต่อโรคแมลง มีประโยชน์ทางโภชนาการมากและมีความอร่อยมีสรรพคุณทางด้านการส่งเสริมสุขภาพเป็นอย่างดี ในประเทศไทยมีผักพื้นบ้านหลายชนิดที่มีศักยภาพในการผลิตเชิงการค้าเพื่อบริโภค
3. บริหารจัดการเครือข่ายระบบการผลิตผักดีด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในระบบสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านกระบวนการผลิต กระบวนการจัดส่งและการตลาดให้ปริมาณสินค้าสอดคล้องกับความต้องการ
4. พัฒนาระบบ Logistics ผักดีเพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน
5. ส่งเสริมการตลาดและการขายในระดับท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความรู้และความตื่นตัวของผู้บริโภคในการเลือกรับประทานผักผลไม้และอาหารดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริง
6. พัฒนาระบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สินค้าส่งตรงไปยังผู้บริโภคได้โดยตรงอย่างรวดเร็วผ่านเครื่อข่าย Online Delivery เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต
7. พัฒนาระบบ Knowledge Management (KM) เป็นคลังความรู้ทางด้านการผลิตพืชผักคุณภาพดีปลอดภัยต่อสุขภาพเผยแพร่ให้สมาชิกในระบบได้เรียนรู้